ไมโครมิเตอร์ คือ ? ไมโครมิเตอร์ มีกี่แบบ ? และ ไมโครมิเตอร์ ใช้ยังไง ?

ไมโครมิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดขนาดที่มีความแม่นยำสูง และสามารถวัดได้ทั้งหน่วยมิลลิเมตร (Metric) และหน่วยนิ้ว (Imperial) ให้ค่าวัดที่ละเอียดถึง 0.001 มิลลิเมตร ในการวัดแบบ Metric และ 0.0001 นิ้ว ในการวัดแบบ imperial ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้กับงานที่เกี่ยวกับวิศวะกร ที่ต้องการความแม่นยำสูง


ไมโครมิเตอร์ ให้ความแม่นยำในการวัดกว่าเครื่องวัดอื่นๆ เช่น เวอร์เนีย คาลิเปอร์ หรือ ไดอัล คาลิปเปอร์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าจำเป็นที่ต้องละเอียดขนาดไหน ซึ่งไมโครมิเตอร์ ใช้วัดความกว้าง ความยาว ความหนา ความต่างระดับ ความลึก หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ และเมื่อพูดถึงคำว่า ไมโครมอเตอร์ โดยรวมจะหมายถึง ไมโครมิเตอร์ภายนอก ตามภาพประกอบด้านล่าง

ส่วนประกอบไมโครมิเตอร์

  • โครง (Frame) : ลักษณะเป็นรูปตัว C ทำหน้าที่ยึดส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีรูปทรงและขนาดที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานไมโครมิเตอร์ได้ตามต้องการ โดยทั่วไปบนโครงจะระบุแบรนด์ ช่วงการวัด และค่าความละเอียดแสดงไว้
  • แกนรับ (Anvil) : ลักษณะเป็นเพลากลมตันประกอบยึดอยู่กับโครง ใช้สำหรับรองรับชิ้นงานในขณะทำการวัด ทํามาจากเหล็กหล่อมีความแข็งแรงทนทาน
  • แกนหมุน (Spindle) : มีลักษณะเป็นเพลากลมอยู่คู่กับแกนรับ สามารถเคลื่อนเข้า-ออก เพื่อทำการวัดขนาดชิ้นงาน
  • ตัวยึดแกนหมุน (Spindle Lock) : ใช้ล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ ไมโครมิเตอร์บางรุ่นเป็นแบบหมุนนอต และบางรุ่นเป็นก้านเล็กๆ สามารถโยกเพื่อล็อกหรือคลายล็อก
  • ปลอกวัด (Sleeve) : ลักษณะเป็นก้านทรงกระบอก มีขีดสเกลหลักอยู่ตลอดความยาว และมีเส้นขีดยาวในแนวนอน เรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line)
  • ปลอกหมุนวัด (Thimble) : มีลักษณะเป็นปลอกทรงกระบอกสวมอยู่กับก้านสเกล ทำหน้าที่หมุนแกนวัดเข้าหาชิ้นงาน มีขีดสเกลอยู่รอบเพื่ออ่านค่าละเอียด
  • หัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet knob) : อยู่ที่ปลายด้ามจับของไมโครมิเตอร์ ทำหน้าที่เป็นประแจวัดแรงบิดในตัว (Torque Wrench) เพื่อจำกัดแรงบิดป้องกันไม่ให้หมุนแกนวัดแน่นหรือหลวมเกินไป

ไมโครมิเตอร์ วิธีใช้?

ทำความสะอาดที่หน้าสัมผัสของทั้งแกนรับ (Anvil) และแกนวัด (Spindle) เพื่อให้ได้ค่าทีแม่นยำที่สุด แล้วจึงหมุนที่ปลอกหมุน (Thimble) ตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้แกนวัดเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานจนเกือบสัมผัสกับชิ้นงาน แล้วหมุนหัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet) ตามเข็มนาฬิกาให้ได้ยินเสียงดังประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อจำกัดแรงบิดป้องกันไม่ให้หมุนแกนวัดแน่นหรือหลวมเกินไป ซึ่งค่าความละเอียด ไมโครมิเตอร์จะมีระเอียด 2 ระดับความละเอียด

ไมโครมิเตอร์ที่ความละเอียดสูงสุง 0.01 mm จะมี 2 ค่า

  • 1. Sleeve scale 7 mm
  • 2. Thimble scale 0.37 mm (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
  • ค่าที่ได้ 7.37 mm

หมายเหตุ ค่าบน Thimble scale 0.37 จะถูกอ่านที่ตำแหน่งที่ปลอกเส้นสเกลอยู่ในแนวเส้นเดียวกันกับระดับของปลอกมือจับมาตราส่วนปลอกสามารถอ่านได้โดยตรงถึง 0.1mm ดังที่แสดงไว้ด้านบน

ไมโครมิเตอร์ที่ความละเอียดสูงสุง 0.001 mm จะมี 3 ค่า
  • 1. Sleeve scale 6 mm
  • 2. Thimble scale 0.21 mm (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
  • 3. Vernier scale 0.003 mm (ทศนิยม 3 ตำแหน่ง)
  • ค่าที่ได้ 6.213 mm

หมายเหตุ ค่าบน Thimble scale 0.21 จะถูกอ่านที่ตำแหน่งที่เส้นสเกลอยู่ระหว่างสองเส้น ( 21 และ 22 ) กรณีนี้ให้เลือกสเกลใกล้เส้นมากที่สุด และ ค่าบน Vernier scale 0.003 mm จะสอดคล้องตรงกับเส้นปลอกมือจับเส้นใดเส้นหนึ่งมากที่สุด

ไมโครมิเตอร์ มีกี่แบบ?

ไมโครมิเตอร์ที่นิยมใช้ มี 3 ประเภท

ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer)
นิยมใช้กันมากกว่าแบบอื่นใช้วัดขนาดความกว้าง ความยาว และ ความหนา ภายนอก ของเพลา บล็อก สายทรงกลม เส้นลวด วัตถุทรงกลม ฯลฯ

ไมโครมิเตอร์วัดใน (Inside Micrometer)
ใช้วัดความกว้างของช่องว่างต่างๆ เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางภายในหลุม วงกลม รูเปิด

ไมโครมิเตอร์วัดลึก(Depth Micrometer)
ใช้วัดความลึกของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นหลุม บ่อ หรือช่อง ต่างๆ